ปัญหาและการแก้ไขปั๊มหอยโข่ง Trouble Shooting
การใช้ปั๊มน้ำหอยโข่งอย่างถูกวิธีนั้นมีน้อยคนในเมืองไทยที่เข้าใจปัญหาและการใช้งานของปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) ผมมีบทความนี้อาจทำให้ท่านผู้ใช้ พนักงานขาย หรือประชาชนทั่วไปอ่านแล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ท่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ หนังสือ (ปั๊มและระบบสูบน้ำ ของ รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล)
สาเหตุหลักที่ปั๊มหอยโข่งไม่ทำงานแบ่งออกเป็น 10 หัวข้อคือ
- ปั๊มไม่จ่ายน้ำ
- ปั๊มจ่ายน้ำออกมาน้อย
- ปั๊มให้แรงดันน้ำน้อย
- เริ่มต้นจ่ายน้ำแล้วขาดหายไป
- ปั๊มต้องการกำลังมากผิดปรกติ
- ตลับกันรั่ว (Stuffing Box) รั่วมากผิดปรกติ
- อายุการใช้งานของกันรั่ว (Packing)สั้นกว่าปกติ
- ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง
- อายุการใช้งานของรองลื่น (Bearing) สั้นผิดปรกติ
- ปั๊มร้อนจัดเวลาทำงาน หรือ หมุนฝืด
1 ปั๊มไม่จ่ายน้ำสาเหตุมาจาก
- ไม่ได้เติมน้ำก่อนเดินเครื่อง หรือไม่มีอน้ำฃอยู่ในห้องสูบ
- ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
- ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
- NPSHa น้อยกว่า NPSHr
- มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
- ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
- ความเร็วต่ำเกินไป
- ใบพัดหมุนผิดทาง
- เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
- ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
- มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
2 ปั๊มจ่ายน้ำออกมาน้อย สาเหตุมาจาก
- 1. ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
- 2.ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
- 3. NPSHa น้อยกว่า NPSHr
- 4. มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
- 5. มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
- 6. ท่อดูดรั่ว อากาศเข้าไปในท่อได้
- 7. อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบผ่านตลับอัดกันรั่ว (Stuffing box)
- 8. ฟุตวาล์วเล็กเกินไป
- 9. ฟุตวาล์วอุดตัน
- 10. ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
- 11. ความเร็วต่ำเกินไป
- 12. เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
- 13. ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
- 14. ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
- 15. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
- 16. แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
- 17. ใบพัดชำรุด
- 18. กันรั่ว (Gasket) ของห้องสูบชำรุด ทำให้มีการรั่วภายใน
3 ปั๊มให้แรงดันน้ำน้อย
- มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
- ความเร็วต่ำเกินไป
- ใบพัดหมุนผิดทาง
- เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
- ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
- ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
- แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
- ใบพัดชำรุด
- กันรั่ว (Gasket) ของห้องสูบชำรุด ทำให้มีการรั่วภายใน
4 เริ่มต้นจ่ายน้ำแล้วขาดหายไป สาเหตุมาจาก
- ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
- ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
- มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
- มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
- ท่อดูดรั่ว อากาศเข้าไปในท่อได้
- อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบผ่านตลับอัดกันรั่ว (Stuffing box)
- ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
- ท่อน้ำกันรั่วอุดตัน น้ำไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้ทำให้อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบ
- ติดตั้ง Seal cage ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ทำให้น้ำกันรั่วไม่สามารถ
5 ปั๊มต้องการกำลังมากผิดปรกติ สาเหตุมาจาก
- ความเร็วสูงเกินไป
- ใบพัดหมุนผิดทาง
- เฮดรวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
- เฮดรวมของระบบต่ำกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
- ความถ่วงจำเพาะของของเหลวต่างจากที่ออกแบบไว้
- ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
- มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
- เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
- เพลาคด
- ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
- แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
- ติดตั้งกันรั่ว (Packing) ไม่ถูกต้อง
- ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
- ต่อมหล่อลื่น (Gland) แน่นเกินไป เป็นผลให้ไม่มีสิ่งหล่อลื่นไหลไปสู่กันรั่ว (Packing)
6 ตลับกันรั่ว (Stuffing Box)รั่วมากผิดปรกติ สาเหตุมาจาก
- เพลาหรือปลอกเพลา (Shaft sleeves) ชำรุดที่กันรั่ว (Packing)
- ติดตั้งกันรั่ว (Packing) ไม่ถูกต้อง ในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box)ทำให้น้ำกันรั่วไม่สามารถทำงานได้
- ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
- เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
- ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
- ไม่มีน้ำไหลไประบายความร้อนตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ประเภทระบายความร้อนด้วยน้ำ
- ช่องว่าง (Clearance) ระหว่างเพลากับเรือนปั๊ม (Casing) ที่ด้านล่างของตลับอัดกันรั่วมากเกินไปทำให้กันรั่วถูกดันเข้าไปในห้องสูบ
- มีสิ่งสกปรกหรือกรวดทรายในน้ำยากันรั่ว (Sealing Liquid) ทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนเพลาหรือปลอกเพลา
7 อายุการใช้งานของกันรั่ว (Packing)สั้นกว่าปกติ สาเหตุมาจาก
- ติดตั้งกันรั่ว (Packing) ไม่ถูกต้อง
- ท่อน้ำกันรั่วอุดตัน น้ำไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้ทำให้อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบ
- ติดตั้ง Seal cage ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องในตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ทำให้น้ำกันรั่วไม่สามารถไหลเข้าไปทำหน้าที่ได้
- เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
- เพลาคด
- รองลื่น (Bearing) สึก
- เพลาหรือปลอกเพลา (Shaft sleeves) ชำรุดที่กันรั่ว (Packing)
- ประเภทของกันรั่วไม่เหมาะกับสภาพการทำงาน
- เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
- ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
- ต่อมหล่อลื่น (Gland) แน่นเกินไป เป็นผลให้ไม่มีสิ่งหล่อลื่นไหลไปสู่กันรั่ว (Packing)
- ไม่มีน้ำไหลไประบายความร้อนตลับอัดกันรั่ว (Stuffing Box) ประเภทระบายความร้อนด้วยน้ำ
- ช่องว่าง (Clearance) ระหว่างเพลากับเรือนปั๊ม (Casing) ที่ด้านล่างของตลับอัดกันรั่วมากเกินไป ทำให้กันรั่วถูกดันเข้าไปในห้องสูบ
- มีสิ่งสกปรกหรือกรวดทรายในน้ำยากันรั่ว (Sealing Liquid) ทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนเพลาหรือปลอกเพลา
8 ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง สาเหตุมาจาก
- ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
- ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
- NPSHa น้อยกว่า NPSHr
- ฟุตวาล์วเล็กเกินไป
- ฟุตวาล์วอุดตัน
- ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
- ให้ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบต่ำมาก
- มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
- เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
- แท่นปั๊มและต้นกำลังไม่มั่นคงแข็งแรง
- เพลาคด
- ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
- รองลื่น (Bearing) สึก
- ใบพัดชำรุด
- เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
- ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
- มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว
- มีไขหรือน้ำมันหล่อลื่นในช่องที่ติดตั้งรองลื่น หรือตลับลูกปืนมากเกินไป หรือมีการระบายความร้อนไม่ดีจึงทำให้มีอุณหภูมิสูง
- ขาดวัสดุหล่อลื่น
- ติดตั้งรองลื่นไม่ถูกต้อง เช่นลูกปืนแตกหรือชำรุดขณะติดตั้งใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม
- มีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ในตลับลูกปืนหรือรองลื่น
- สนิมขึ้นในตลับลูกปืนหรือรองลื่นเนื่องจากน้ำรั่วเข้าไปได้
- อุณหภูมิของน้ำที่สูบเย็นมากทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในช่องตลับลูกปืน
9 อายุการใช้งานของรองลื่น (Bearing) สั้นผิดปรกติ สาเหตุมาจาก
- เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
- เพลาคด
- ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
- รองลื่น (Bearing) สึก
- เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
- ใบพัดหรือชิ้นส่วนที่หมุนอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดสั่น
- มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว
- มีไขหรือน้ำมันหล่อลื่นในช่องที่ติดตั้งรองลื่น หรือตลับลูกปืนมากเกินไป หรือมีการระบายความร้อนไม่ดีจึงทำให้มีอุณหภูมิสูง
- ขาดวัสดุหล่อลื่น
- ติดตั้งรองลื่นไม่ถูกต้อง เช่นลูกปืนแตกหรือชำรุดขณะติดตั้งใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม
- อุณหภูมิของน้ำที่สูบเย็นมากทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในช่องตลับลูกปืน
- สนิมขึ้นในตลับลูกปืนหรือรองลื่นเนื่องจากน้ำรั่วเข้าไปได้
- มีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ในตลับลูกปืนหรือรองลื่น
10 ปั๊มร้อนจัดเวลาทำงาน หรือ หมุนฝืด สาเหตุมาจาก
- ไม่ได้เติมน้ำก่อนเดินเครื่อง หรือไม่มีน้ำอยู่ในห้องสูบ
- NPSHa น้อยกว่า NPSHr
- ให้ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบต่ำมาก
- ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
- เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน
- ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่
- รองลื่น (Bearing) สึก
- เพลาหมุนไม่ได้ศูนย์เนื่องจากรองลื่นชำรุด หรือเพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์กัน
- มีแรงกดดันมากเกินไปโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุดของชิ้นส่วนภายใน หรือการชำรุดของอุปกรณ์ควบคุมความสมดุลย์ของแรงดันของของเหลว
ที่มา จากหนังสือ ปั๊มและระบบสูบน้ำ
รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน,คณะวิศวกรรมศาสตร์,มหาวิทยาล้ยเกษตรศาสตร์ หน้าที่ 205,206,207,208,209,210,211
หมายเหตุ ข้อที่ 26 ทางซ้ายมือ ชิ้นส่วนที่หมุนบดกับส่วนที่อยู่กับที่ ให้แก้เป็น หัวข้อที่ 27 ซ้ายมือเป็นเลข คี่ ขวา เป็นเลขคู่
ที่มา จากหนังสือ ปั๊มและระบบสูบน้ำ
รศ.ดร.วิบูลย์ บุญยธโรกุล ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน,คณะวิศวกรรมศาสตร์,มหาวิทยาล้ยเกษตรศาสตร์ หน้าที่ 205,206,207,208,209,210,211